การคัดเลือกและฝึกนกเขาชวาเพื่อแข่งขัน ตำรับอินโดนีเซีย
โดย อิเหนาอินโด
"ลูกนกเขาชวาเสียงทุกตัวไม่ได้มีเสียงดีเสมอไป และไม่ทุกตัวที่จะแข่งได้ตำแหน่งแชมป์เมื่อโตเต็มที่ ลูกนกจากกรงผสมจากฟาร์มดังที่เป็นที่นิยม เป็นลูกจากพ่อแม่ระดับแชมป์ รวมถึงลูกนกจากกรงผสมทั่วไป และผลิตผลจากนักเพาะพันธุ์รายเล็ก ทั้งหมดก็มีน้อยนักที่จะได้เป็นนกระดับแชมป์เมื่อเติบโตขึ้นเต็มที่"
ดังนั้นการเลือกนกเพื่อให้เป็นแชมป์ตั้งแต่เป็นลูกนกอยู่นั้นเป็นเรื่องยาก จะต้องอาศัยโชคและอาศัยองค์ประกอบต่างๆมาพิจารณางานเขียนชิ้นนี้จึงเป็นการแนะวิธีทั่วไปที่ได้สะสมมาจากประสบการณ์ส่วนตัว บางส่วนจาก Fauna Magazineเกี่ยวกับวิธีการเลือกซื้อนก เช่นการดูจากลักษณะภายนอก การดูแล และเตรียมนกเพื่อแข่งตั้งแต่วัยลูกนกจนถึงนกเต็มวัย
ลูกนกที่อายุไม่เกิน 4 เดือน ไม่มีอะไรบอกได้แน่นอนว่าจะมีคุณภาพเสียงที่ดีเมื่อโตเต็มที่แล้ว มีมากไป ที่เสียงมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อนกอายุมากขึ้น เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น หรือเปลี่ยนไปในทางที่เลวลงจากประสบการณ์ของผู้ที่ศึกษามาเป็นเวลานาน แค่ 10เปอร์เซ็นต์ของลูกนกวัยสี่เดือนมีเสียงคงที่ไปถึงวัยนกที่โตแล้ว เมื่อใช้เวลาสังเกตประมาณ 3 เดือน
ลูกนกส่วนมากจะมีเสียงเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ เป็นขั้นๆไปและเริ่มจะคงที่เมื่ออายุได้ประมาณ 7 เดือน
ดังนั้นการตัดสินใจซื้อลูกนกเป็นการยากที่จะหาอะไรมาประกันได้ว่าลูกนกที่เมื่อเติบโตเป็นนกแข่งภายหลัง จะมีสิทธิ์ได้แชมป์จากการแข่งขัน ยิ่งไปกว่านั้น การดูลักษณะและท่าทางภายนอกประกอบกับประสบการณ์ที่สั่งสมมา ไม่สามารถใช้เป็นมาตรฐานการวัดเพื่อที่จะตัดสินใจเลือกลูกนกที่เมื่อโตแล้วจะมีเสียงดีหรือไม่
ลักษณะเสียงของนกที่จะต้องสังเกตได้แก่
1. ขนาดของเสียง (ใหญ่ เล็ก หรือกลาง ) และจังหวะ (เนิบช้า หรือติดกันเป็นรถไฟ)
2. จังหวะใน เป็นกี่จังหวะ จะหกหรือเจ็ดจังหวะก็ยังยากที่จะกะเกณฑ์ว่าผลสุดท้ายเมื่อนกโตขึ้นจะมีจังหวะอย่างไร สิ่งที่จะพอบอกได้ก็คงจะเป็นแนวทางเท่านั้น
3. ลักษณะของคำหน้า และปลายนิยม ซึ่งโดยมากจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเมื่อนกโตเต็มที่แล้ว ซึ่งต้องฟังให้ดี หลังจากที่เลือกลูกนกที่คาดว่าจะมีเสียงดีแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะต้องมีการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง เพราะว่าถ้าดูแลไม่ถูกหลักอาจจะมีผลต่อคุณภาพเสียง ทำให้เสียงแตกพร่าไม่น่าฟัง เมื่อลูกนกโตขึ้น
หลักการดูแลลูกนกที่จะต้องยึดและปฏิบัติก็มีดังนี้คือ
1. ลูกนกจะมีการผลัดขนครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 2.5 เดือน และจะใช้เวลาช่วงหนึ่งเพื่อผลัดขนจนหมดตัว โดยขนจะขึ้นเต็มตัวเมื่ออายุได้ 3.5เดือน ซึ่งลูกนกช่วงที่เปลี่ยนแปลงนี้จะต้องมีการดูแลรักษาให้ดี ช่วงที่ลูกนกกำลังผลัดขน ผู้เลี้ยงต้องนำลูกนกปล่อยในกรงบินรวมกับลูกนกตัวอื่น ลูกนกช่วงนี้จะมีการร้องเบาๆ ออกเสียงฟรี๊ ฟรี๊บ ขนของลูกนกจะเริ่มขึ้นและร่างกายจะเติบโต และแข็งแรงขึ้น หลังจากนั้นควรนำนกจากกรงบิน แยกเลี้ยงในกรงแข่งเดี่ยว ช่วงนี้นกใกล้จะผลัดขนเสร็จและขนเริ่มเต็มตัว
2. ช่วงที่แยกลูกนกจากพ่อแม่ปล่อยในกรงบิน จะต้องสังเกตดูว่าลูกนกมีการกินอาหารหรือไม่ เนื่องจากลูกนกเมื่อย้ายกรงแล้วจะไม่รู้ว่าจะหากินตรงไหน เนื่องจากภาชนะใส่อาหารเปลี่ยนไป ถ้าลูกนกไม่กินอาหารก็ต้องมีวิธีการช่วยป้อนอาหาร ไม่เช่นนั้นลูกนกอาจขาดอาหารตายได้
3. ช่วงที่ลูกนกอายุประมาณ 3.5 เดือน เสียงจะเริ่มเปลี่ยน เหมือนเสียงเริ่มแตกหนุ่ม ช่วงนี้จะมีแนวการเปลี่ยนแปลงบ่งบอกถึงเสียงของลูกนกเปลี่ยนไปเป็นนกโต ต้องสังเกตว่าขนาดเสียงเปลี่ยนไปอย่างไร จากเล็กไปใหญ่ หรือตรงกันข้าม หรือสังเกตแนวของจังหวะใน ว่ามีจังหวะมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร แม้แต่จังหวะโดยรวมจากจังหวะเนิบช้าเป็นจังหวะที่เร็ว กระชั้นหรือในทางกลับกันว่าจังหวะเปลี่ยนมาเป็นช้าลงหรือไม่
4. ช่วงที่อยู่ในกรงเดี่ยว ลูกนกจะต้องถูกนำไปฝึกแขวนไว้ในระดับชายคาเป็นเวลา 3 ครั้งต่ออาทิตย์ เพื่อให้ลุกนกคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมและไม่ตื่นกลัว หรือแขวนไว้ใกล้บริเวณบ้าน ให้เรียนรู้และรับแดดและลม ช่วงที่เหมาะสมที่สุดก็ประมาณ 16.00 น. กระทั่งอาทิตย์ตกดิน การฝึกเช่นนี้ต้องค่อยเป็นค่อยไป มีการเปลี่ยนจากแขวนบรืเวณบ้าน เริ่มเปลี่ยนไปแขวนที่รอก ขึ้นรอกเตี้ยๆ
5. หลังจากอายุถึง 3.5เดือนแล้ว อาจนำไปปล่อยกรงบินอีกครั้งหรือเก็บไว้ในกรงแข่งเหมือนเดิมก็ได้ ช่วงนี้ลองฟังเสียงนกซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับสายเลือดของนกเป็นสำคัญ
ถ้าไม่ดีขึ้นควรจะปล่อยกลับลงกรงบินเพื่อให้นกได้อยู่กับนกตัวอื่น ซึ่งจะทำให้นกมีความกล้าที่จะขันมากขึ้น เมื่ออายุได้สี่เดือนนกจะขันบ่อยครั้งขึ้น หรือมีการโกรกมากขึ้น ช่วงนี้ถ้านกไหนมีแววดีก็จับเข้ามาฝึกในกรงแข่งได้อีกครั้ง
6. ในช่วงที่ลูกนกอายุได้สี่เดือน เสียงที่แท้จริงของนกจะเริ่มปรากฏให้ฟังบ้าง หรือให้ได้รู้แนวว่าคุณภาพประมาณไหน เมื่ออายุถึง 7 เดือน โดยมากนกที่อายุถึงขั้นนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแนวการร้อง แกนเสียง รวมไปถึงคำหน้าและปลายนิยม บางครั้งจังหวะของนกก็จะเปลี่ยนได้จากจังหวะที่ไพเราะ อาจกลายเป็นจังหวะที่ชิดติดกันเป็นพรืดเหมือนรถไฟ และบางนกเมื่อขันต่อเนื่องกันนานๆก็อาจจะมีอาการกว๊าก หรือปลายสั้นลง และไม่มีปลายที่น่าฟังเหมือนตอนที่ยังเป็นลูกนก บางนกที่เคยมีปลายยาวๆ ก็มีการเปลี่ยนเป็นกุ๊กสั้นๆ หรือกว๊ากไปเลย
การเลือกลูกนกต้องเอาใจใส่เรื่องการฟังให้ดี ในส่วนของปลายควรจะฟังว่ามีการออกเสียงเหมือนเบรคหรือไม่ ถ้ามีก็หมายความว่านกนี้อาจมีการออกเสียงปลายเป็น กุ๊ก หรือ ปลายสั้น ภายหลัง แต่ในอีกด้านหนึ่ง นกที่มีการออกเสียงปลายเรื่อยๆ และจบลงช้าๆ นกนั้นเมื่อโตมาอาจจะมีปลายที่ยาว อีกอย่างหนึ่งที่ควรพิจารณาก็คือเสียงที่คงที่ เมื่อฟังนกขันไปนานๆจะรู้ถึงความสม่ำเสมอของการอออกเสียงได้เป็นอย่างดี เสียงของลูกนกจะชัดเจนและดีขึ้นเมื่อตอนเช้าเป็นเวลาประมาณ สามชั่วโมง ซึ่งจะสังเกตได้ถึงแนวการร้อง บางนกจะร้องจากจังหวะหกจังหวะลดลงเหลือแค่5จังหวะ หรือจาก4จังหวะเป็น 5 จังหวะ ส่วนเรื่องของขนาดเสียงก็จะมีการเปลี่ยนแปลงจากเสียงใหญ่ก็อาจจะเป็นเสียงแหบหรือลดขนาดลง หรือไม่ก็จากเสียงที่เคยดังกังวาน กลับค่อยลงหรือไม่ค่อยได้ยิน
การเทรนนกเพื่อเข้าแข่งขันด้วยการฝึกรอกนก ควรเริ่มฝึกตั้งแต่นกอายุได้ 4 เดือน ดังนี้
1. เริ่มจากการแขวนไว้ที่โคนรอกกับนกอื่น ช่วงเวลาเช้าเป็นเวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง สามารถฝึกได้ทั้งที่บ้านและที่สนามจริง ซึ่งจะต้องมีรอกและมีนกอื่นเพื่อสร้างความคุ้นเคย
2. เมื่อฝึกไปได้สักระยะก็จะสามารถฟังออกว่านกของท่านมีแนวที่ใช้ได้หรือไม่ รวมไปถึงพฤติกรรมของนก ส่วนนี้ก็สำคัญเนื่องจากนกที่ไม่ได้รับการฝึกอาจจะมีนิสัยที่ไม่ชอบรอกก็ได้
3. นอกจากการฝึกรอก การฝึกให้ชินกับการขนย้ายก็สำคัญ เพื่อเพิ่มชั่วโมงบินและประสบการณ์
4. เมื่อนกมีชั่วโมงบินที่สูงและพร้อมไปด้วยประสบการณ์ ก็จะเริ่มด้วยการแข่งแบบแขวนราว(piyik hanging) ซึ่งนกก็จะได้คุ้นเคยกับลูกนกอื่นๆที่เข้าแข่ง และนกจะมีความคุ้นเคยกับนกจำนวนมาก
การแข่งลูกนกแบบของอินโดนีเซีย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.แข่งแบบแขวนราว(piyik hanging)
"ลูกนกเขาชวาเสียงทุกตัวไม่ได้มีเสียงดีเสมอไป และไม่ทุกตัวที่จะแข่งได้ตำแหน่งแชมป์เมื่อโตเต็มที่ ลูกนกจากกรงผสมจากฟาร์มดังที่เป็นที่นิยม เป็นลูกจากพ่อแม่ระดับแชมป์ รวมถึงลูกนกจากกรงผสมทั่วไป และผลิตผลจากนักเพาะพันธุ์รายเล็ก ทั้งหมดก็มีน้อยนักที่จะได้เป็นนกระดับแชมป์เมื่อเติบโตขึ้นเต็มที่"
ดังนั้นการเลือกนกเพื่อให้เป็นแชมป์ตั้งแต่เป็นลูกนกอยู่นั้นเป็นเรื่องยาก จะต้องอาศัยโชคและอาศัยองค์ประกอบต่างๆมาพิจารณางานเขียนชิ้นนี้จึงเป็นการแนะวิธีทั่วไปที่ได้สะสมมาจากประสบการณ์ส่วนตัว บางส่วนจาก Fauna Magazineเกี่ยวกับวิธีการเลือกซื้อนก เช่นการดูจากลักษณะภายนอก การดูแล และเตรียมนกเพื่อแข่งตั้งแต่วัยลูกนกจนถึงนกเต็มวัย
ลูกนกที่อายุไม่เกิน 4 เดือน ไม่มีอะไรบอกได้แน่นอนว่าจะมีคุณภาพเสียงที่ดีเมื่อโตเต็มที่แล้ว มีมากไป ที่เสียงมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อนกอายุมากขึ้น เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น หรือเปลี่ยนไปในทางที่เลวลงจากประสบการณ์ของผู้ที่ศึกษามาเป็นเวลานาน แค่ 10เปอร์เซ็นต์ของลูกนกวัยสี่เดือนมีเสียงคงที่ไปถึงวัยนกที่โตแล้ว เมื่อใช้เวลาสังเกตประมาณ 3 เดือน
ลูกนกส่วนมากจะมีเสียงเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ เป็นขั้นๆไปและเริ่มจะคงที่เมื่ออายุได้ประมาณ 7 เดือน
ดังนั้นการตัดสินใจซื้อลูกนกเป็นการยากที่จะหาอะไรมาประกันได้ว่าลูกนกที่เมื่อเติบโตเป็นนกแข่งภายหลัง จะมีสิทธิ์ได้แชมป์จากการแข่งขัน ยิ่งไปกว่านั้น การดูลักษณะและท่าทางภายนอกประกอบกับประสบการณ์ที่สั่งสมมา ไม่สามารถใช้เป็นมาตรฐานการวัดเพื่อที่จะตัดสินใจเลือกลูกนกที่เมื่อโตแล้วจะมีเสียงดีหรือไม่
ลักษณะเสียงของนกที่จะต้องสังเกตได้แก่
1. ขนาดของเสียง (ใหญ่ เล็ก หรือกลาง ) และจังหวะ (เนิบช้า หรือติดกันเป็นรถไฟ)
2. จังหวะใน เป็นกี่จังหวะ จะหกหรือเจ็ดจังหวะก็ยังยากที่จะกะเกณฑ์ว่าผลสุดท้ายเมื่อนกโตขึ้นจะมีจังหวะอย่างไร สิ่งที่จะพอบอกได้ก็คงจะเป็นแนวทางเท่านั้น
3. ลักษณะของคำหน้า และปลายนิยม ซึ่งโดยมากจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเมื่อนกโตเต็มที่แล้ว ซึ่งต้องฟังให้ดี หลังจากที่เลือกลูกนกที่คาดว่าจะมีเสียงดีแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะต้องมีการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง เพราะว่าถ้าดูแลไม่ถูกหลักอาจจะมีผลต่อคุณภาพเสียง ทำให้เสียงแตกพร่าไม่น่าฟัง เมื่อลูกนกโตขึ้น
หลักการดูแลลูกนกที่จะต้องยึดและปฏิบัติก็มีดังนี้คือ
1. ลูกนกจะมีการผลัดขนครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 2.5 เดือน และจะใช้เวลาช่วงหนึ่งเพื่อผลัดขนจนหมดตัว โดยขนจะขึ้นเต็มตัวเมื่ออายุได้ 3.5เดือน ซึ่งลูกนกช่วงที่เปลี่ยนแปลงนี้จะต้องมีการดูแลรักษาให้ดี ช่วงที่ลูกนกกำลังผลัดขน ผู้เลี้ยงต้องนำลูกนกปล่อยในกรงบินรวมกับลูกนกตัวอื่น ลูกนกช่วงนี้จะมีการร้องเบาๆ ออกเสียงฟรี๊ ฟรี๊บ ขนของลูกนกจะเริ่มขึ้นและร่างกายจะเติบโต และแข็งแรงขึ้น หลังจากนั้นควรนำนกจากกรงบิน แยกเลี้ยงในกรงแข่งเดี่ยว ช่วงนี้นกใกล้จะผลัดขนเสร็จและขนเริ่มเต็มตัว
2. ช่วงที่แยกลูกนกจากพ่อแม่ปล่อยในกรงบิน จะต้องสังเกตดูว่าลูกนกมีการกินอาหารหรือไม่ เนื่องจากลูกนกเมื่อย้ายกรงแล้วจะไม่รู้ว่าจะหากินตรงไหน เนื่องจากภาชนะใส่อาหารเปลี่ยนไป ถ้าลูกนกไม่กินอาหารก็ต้องมีวิธีการช่วยป้อนอาหาร ไม่เช่นนั้นลูกนกอาจขาดอาหารตายได้
3. ช่วงที่ลูกนกอายุประมาณ 3.5 เดือน เสียงจะเริ่มเปลี่ยน เหมือนเสียงเริ่มแตกหนุ่ม ช่วงนี้จะมีแนวการเปลี่ยนแปลงบ่งบอกถึงเสียงของลูกนกเปลี่ยนไปเป็นนกโต ต้องสังเกตว่าขนาดเสียงเปลี่ยนไปอย่างไร จากเล็กไปใหญ่ หรือตรงกันข้าม หรือสังเกตแนวของจังหวะใน ว่ามีจังหวะมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร แม้แต่จังหวะโดยรวมจากจังหวะเนิบช้าเป็นจังหวะที่เร็ว กระชั้นหรือในทางกลับกันว่าจังหวะเปลี่ยนมาเป็นช้าลงหรือไม่
4. ช่วงที่อยู่ในกรงเดี่ยว ลูกนกจะต้องถูกนำไปฝึกแขวนไว้ในระดับชายคาเป็นเวลา 3 ครั้งต่ออาทิตย์ เพื่อให้ลุกนกคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมและไม่ตื่นกลัว หรือแขวนไว้ใกล้บริเวณบ้าน ให้เรียนรู้และรับแดดและลม ช่วงที่เหมาะสมที่สุดก็ประมาณ 16.00 น. กระทั่งอาทิตย์ตกดิน การฝึกเช่นนี้ต้องค่อยเป็นค่อยไป มีการเปลี่ยนจากแขวนบรืเวณบ้าน เริ่มเปลี่ยนไปแขวนที่รอก ขึ้นรอกเตี้ยๆ
5. หลังจากอายุถึง 3.5เดือนแล้ว อาจนำไปปล่อยกรงบินอีกครั้งหรือเก็บไว้ในกรงแข่งเหมือนเดิมก็ได้ ช่วงนี้ลองฟังเสียงนกซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับสายเลือดของนกเป็นสำคัญ
ถ้าไม่ดีขึ้นควรจะปล่อยกลับลงกรงบินเพื่อให้นกได้อยู่กับนกตัวอื่น ซึ่งจะทำให้นกมีความกล้าที่จะขันมากขึ้น เมื่ออายุได้สี่เดือนนกจะขันบ่อยครั้งขึ้น หรือมีการโกรกมากขึ้น ช่วงนี้ถ้านกไหนมีแววดีก็จับเข้ามาฝึกในกรงแข่งได้อีกครั้ง
6. ในช่วงที่ลูกนกอายุได้สี่เดือน เสียงที่แท้จริงของนกจะเริ่มปรากฏให้ฟังบ้าง หรือให้ได้รู้แนวว่าคุณภาพประมาณไหน เมื่ออายุถึง 7 เดือน โดยมากนกที่อายุถึงขั้นนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแนวการร้อง แกนเสียง รวมไปถึงคำหน้าและปลายนิยม บางครั้งจังหวะของนกก็จะเปลี่ยนได้จากจังหวะที่ไพเราะ อาจกลายเป็นจังหวะที่ชิดติดกันเป็นพรืดเหมือนรถไฟ และบางนกเมื่อขันต่อเนื่องกันนานๆก็อาจจะมีอาการกว๊าก หรือปลายสั้นลง และไม่มีปลายที่น่าฟังเหมือนตอนที่ยังเป็นลูกนก บางนกที่เคยมีปลายยาวๆ ก็มีการเปลี่ยนเป็นกุ๊กสั้นๆ หรือกว๊ากไปเลย
การเลือกลูกนกต้องเอาใจใส่เรื่องการฟังให้ดี ในส่วนของปลายควรจะฟังว่ามีการออกเสียงเหมือนเบรคหรือไม่ ถ้ามีก็หมายความว่านกนี้อาจมีการออกเสียงปลายเป็น กุ๊ก หรือ ปลายสั้น ภายหลัง แต่ในอีกด้านหนึ่ง นกที่มีการออกเสียงปลายเรื่อยๆ และจบลงช้าๆ นกนั้นเมื่อโตมาอาจจะมีปลายที่ยาว อีกอย่างหนึ่งที่ควรพิจารณาก็คือเสียงที่คงที่ เมื่อฟังนกขันไปนานๆจะรู้ถึงความสม่ำเสมอของการอออกเสียงได้เป็นอย่างดี เสียงของลูกนกจะชัดเจนและดีขึ้นเมื่อตอนเช้าเป็นเวลาประมาณ สามชั่วโมง ซึ่งจะสังเกตได้ถึงแนวการร้อง บางนกจะร้องจากจังหวะหกจังหวะลดลงเหลือแค่5จังหวะ หรือจาก4จังหวะเป็น 5 จังหวะ ส่วนเรื่องของขนาดเสียงก็จะมีการเปลี่ยนแปลงจากเสียงใหญ่ก็อาจจะเป็นเสียงแหบหรือลดขนาดลง หรือไม่ก็จากเสียงที่เคยดังกังวาน กลับค่อยลงหรือไม่ค่อยได้ยิน
การเทรนนกเพื่อเข้าแข่งขันด้วยการฝึกรอกนก ควรเริ่มฝึกตั้งแต่นกอายุได้ 4 เดือน ดังนี้
1. เริ่มจากการแขวนไว้ที่โคนรอกกับนกอื่น ช่วงเวลาเช้าเป็นเวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง สามารถฝึกได้ทั้งที่บ้านและที่สนามจริง ซึ่งจะต้องมีรอกและมีนกอื่นเพื่อสร้างความคุ้นเคย
2. เมื่อฝึกไปได้สักระยะก็จะสามารถฟังออกว่านกของท่านมีแนวที่ใช้ได้หรือไม่ รวมไปถึงพฤติกรรมของนก ส่วนนี้ก็สำคัญเนื่องจากนกที่ไม่ได้รับการฝึกอาจจะมีนิสัยที่ไม่ชอบรอกก็ได้
3. นอกจากการฝึกรอก การฝึกให้ชินกับการขนย้ายก็สำคัญ เพื่อเพิ่มชั่วโมงบินและประสบการณ์
4. เมื่อนกมีชั่วโมงบินที่สูงและพร้อมไปด้วยประสบการณ์ ก็จะเริ่มด้วยการแข่งแบบแขวนราว(piyik hanging) ซึ่งนกก็จะได้คุ้นเคยกับลูกนกอื่นๆที่เข้าแข่ง และนกจะมีความคุ้นเคยกับนกจำนวนมาก
การแข่งลูกนกแบบของอินโดนีเซีย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.แข่งแบบแขวนราว(piyik hanging)
2.แข่งแบบชักครึ่งรอก(piyik 1/2 tiang)
แหล่งที่มา
http://zebra-dove-for-competition.blogspot.com/2012/02/blog-post_05.html
Casino Near DC - Mapyro
ตอบลบFind Casino Near DC, VA, at 1946 DC Highway 50, 영주 출장안마 군산 출장샵 The casino 양주 출장마사지 was found to have had a non-gaming license from the 김제 출장마사지 DC Racing Commission. 경상남도 출장마사지